Tuesday, February 12, 2013

Khuang Pra Chao Lanna ChiangMai Thailand

ข่วงพระเจ้าลานนา เชียงใหม่



: A Visit 


ข่วงพระเจ้าล้านนา

Khuang PraJao Lanna ChiangMai Thailand 































Khun Sukij & Khun Vichai 12 Feb.2013































































































































































































































































































ประวัติการสร้าง "ข่วงพระเจ้าล้านนา"

สืบเนื่องจากปีพ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ผ่านมาจนถึงในปัจจุบัน ประเทศไทยมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์การเมืองที่คุกรุ่น ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ข้าวยากหมากแพง เกิดเภทภัยธรรมชาติต่างๆ ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนในทุกหย่อมหญ้า อาจารย์วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ แห่งวิหารหลวงปู่ จึงร่วมกับ กองทัพไทย ในฐานะเป็นผู้ดูแล รักษาปกป้องบ้านเมือง ร่วมกันจัดสร้างพระพุทธรูปทองเหลือง องค์พระเจ้าล้านนา ปางพิชิตมาร เพื่อเป็น บุญฤทธิ์ ปราบมารทั้งภายในและภายนอก เป็นอานิสงส์ผลบุญแก่แผ่นดิน เป็นการเรียกขวัญและกำลังใจของประชาชนชาวไทย เพื่อให้เกิดความสงบสุขในแผ่นดินไทย โดยจัดสร้างพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๙๙ นิ้วขึ้น เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยมีผบ.เหล่าทัพและตัวแทนจากกองทัพไทยมาเป็นประธานในพิธีจัดสร้าง ต่อมา เมื่อการสร้างองค์พระเจ้าล้านนาเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงมีการอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ข่วงพระเจ้าล้านนา (พุทธมณฑลล้านนา) ณ ปากทางเข้าอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า จังหวัดเชียงใหม่




วัตถุประสงค์


เพื่อถวายเป็นสมบัติของแผ่นดิน

เป็นศูนย์กลางดำเนินงานพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า
เพื่อเป็นอานิสงส์ผลบุญให้แผ่นดิน ในการนำพาแผ่นดินไทยรอดพ้นจากสถานการณ์ความเดือดร้อนต่างๆ และให้เกิดความสงบสุขในแผ่นดิน
ข่วงพระเจ้าล้านนา มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรม แบบล้านนาประยุกต์ ที่สวยงาม ด้วยเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่สืบทอดตามศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม มีความงดงาม อ่อนช้อย และมีรายละเอียดของงานศิลปะพื้นบ้านล้านนา
เพื่อเป็นบุญญเขตต์อันศักดิ์สิทธิ์ให้พุทธศาสนิกชนไทย ได้มีสถานที่สักการะบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจใน การตั้งมั่นทำความดีตลอดไป


ข่วงพระเจ้าล้านนาประกอบไปด้วย


ลานประกอบพิธีกรรม ใช้ในการประกอบศาสนกิจต่างๆ อาทิ การเวียนเทียน การทำบุญเมือง เป็นต้น

ลานบูชาองค์พระเจ้าล้านนา ลานบูชาด้านล่างบริเวณนี้จะมีพระพุทธรูปประจำวันเกิดจำนวน ๙ องค์ รายล้อมรอบลานแห่งนี้ เพื่อเป็นฐานที่มั่นคงให้แก่พระประธาน คือ องค์พระเจ้าล้านนา
ลานบูชาด้านบนเป็นที่กราบไหว้สักการะองค์พระเจ้าล้านนา ซึ่งมีซุ้มประตูโขงแบบล้านนา สร้างด้วยปูนปั้น ประดับลวดลายต่างๆ อันมีความหมายในการบูชาพระพุทธเจ้า และกำแพงแก้วที่ล้อมรอบลานบูชาแห่งนี้ รายล้อมไปได้พระพุทธรูปประจำวันเกิด หน้าตัก ๙ นิ้ว จำนวน ๔๐๙ องค์ ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ เทวดา ๒ องค์ ที่ปกปักรักษาองค์พระเจ้าล้านนาและตุงล้านนาคู่ เพื่ออานิสงส์ผลบุญในภพชาติหน้า
ศาลาบาตร รูปแบบล้านนาประยุกต์ ด้านล่างสร้างด้วยปูนปั้น ช่วงเสา ผนัง และโครงสร้างหลังคาจั่ว ประดับตกแต่งภายในด้วยศิลปแบบล้านนา ภายในมีพระพุทธรูปประจำวันเกิด จำนวน ๙ องค์ คือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพุธกลางคืน วันพฤหัสบดี วันพฤหัสบดีกลางคืน วันศุกร์ และวันเสาร์ หน้าตักเท่าคนจริง พร้อมซุ้มตกแต่งรูปแบบล้านนา ซึ่งผู้มาเป็นเจ้าภาพร่วมกันจำนวน ๙ ท่านนี้ อาจารย์วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศได้นิมิตตามที่หลวงปู่ได้เล็งเห็นแล้วว่าเป็นผู้มีบุญบารมีใน การร่วมสร้างข่วงพระเจ้าล้านนาแห่งนี้
สระอโนดาด บริเวณด้านข้างของข่วงพระเจ้าล้านนา เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางรำพึง
สังเวชนียสถาน ประกอบด้วยสถานที่ประสูติ(ต้นสาระ) ตรัสรู้(ต้นโพธิ์) และปรินิพพาน(พระพุทธรูปปางปรินิพพาน)


ออกแบบโดย


อาจารย์จุไรพร ตุมพสุวรรณ อาจารย์คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่




ค่าก่อสร้างข่วงพระเจ้าล้านนา


ค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ ๑๘๕ ล้านบาท




Prachao Lanna





























































Grand Opening Khuang Prachao Lanna  7 Apr.2013













































































No comments:

Post a Comment

Temp song